แบบต่าง ๆ ของ ปรากฏการณ์เชื่อมั่นมากเกินไป

การประเมินเกิน (overestimation)

อาการปรากฏของความเชื่อมั่นเกินอย่างหนึ่งก็คือ ความโน้มเอียงในการประเมินฐานะของตนเกินในเรื่องการตัดสินใจหรือการกระทำเป็นความแน่ใจที่ตนรู้สึกเรื่องความสามารถ การกระทำ ระดับการควบคุม และโอกาสความสำเร็จของตน ๆ ซึ่งมีโอกาสเกิดมากที่สุดในงานที่ยาก ในสิ่งที่ยาก เมื่อความล้มเหลวมีโอกาสมากกว่า หรือเมื่อบุคคลต้องประเมินในสิ่งที่ตนไม่ชำนาญการประเมินเกินยังเกิดในเรื่องต่าง ๆ นอกเหนือจากการกระทำของตนซึ่งรวมปรากฏการณ์การแปลสิ่งเร้าผิดว่าควบคุมได้และเหตุผลวิบัติในการวางแผน[2]

การแปลสิ่งเร้าผิดว่าควบคุมได้

ดูสารนิเทศเพิ่มเติมที่: การแปลสิ่งเร้าผิดว่าควบคุมได้

การแปลสิ่งเร้าผิดว่าควบคุมได้หมายถึงความโน้มเอียงที่บุคคลจะประพฤติเหมือนกับสามารถควบคุมอะไรได้ เมื่อความจริงไม่สามารถเลย[5]อย่างไรก็ดี หลักฐานไม่สนับสนุนแนวคิดว่า มนุษย์ประเมินเกินการควบคุมที่ตนมีอย่างเป็นระบบคือเมื่อตนสามารถควบคุมได้สูง ก็กลับประเมินน้อยเกินจริงถึงการควบคุมได้ที่ตนมี[6]

เหตุผลวิบัติในการวางแผน

ดูสารนิเทศเพิ่มเติมที่: เหตุผลวิบัติในการวางแผน

เหตุผลวิบัติในการวางแผนหมายถึงความโน้มเอียงที่มนุษย์จะประเมินว่างานจะเสร็จเมื่อไรเร็วเกินจริง คือประเมินเวลาเพื่อทำงานให้เสร็จน้อยเกินไป[7]ซึ่งมีกำลังที่สุดสำหรับงานที่นานและซับซ้อน โดยจะไม่มีเลยหรือประเมินกลับกันสำหรับงานที่ง่าย ๆ และทำเสร็จได้เร็ว

หลักฐานคัดค้าน

ปรากฏการณ์ความปรารถนาหรือความเชื่อที่อยู่เหนือเหตุผล ที่มนุษย์ประเมินความเป็นไปได้ของเหตุการณ์ตามผลที่ต้องการ ค่อนข้างจะเกิดน้อย[8]บางส่วนอาจเป็นเพราะมนุษย์บางคนจะมองโลกในแง่ร้ายเพื่อป้องกันตัวก่อนหน้าเหตุการณ์สำคัญ ๆ[9]เพื่อลดความผิดหวังที่จะติดตามมาถ้าพยากรณ์สิ่งที่จะได้ดีกว่าความเป็นจริง[10]

ความเที่ยงเกินจริง (overprecision)

ความเที่ยงเกินจริง (overprecision) เป็นความเชื่อมั่นเกินจริงว่า ตนรู้ความจริง[11][12]หลักฐานของปรากฏการณ์นี้โดยมากมาจากงานศึกษาที่ถามผู้ร่วมการทดลองว่า เชื่อมั่นว่ารายการหนึ่ง ๆ ถูกต้องเท่าไรแม้จะมีประโยชน์บ้าง แต่วิธีนี้ไม่สามารถแยกแยะการประเมินเกิน (overestimation) จากความเที่ยงเกินจริง (overprecision)เพราะการตัดสินความเชื่อมั่นในรายการเช่นนี้ แสดงปรากฏการณ์ทั้งสอง

หลังจากให้ตัดสินความถูกต้องของรายการชุดหนึ่ง ถ้าให้ประเมินจำนวนที่ตนตัดสินได้ถูกต้อง ผู้ร่วมการทดลองมักจะไม่รายงานคะแนนของตนเองเกินแต่ค่าเฉลี่ยของความเชื่อมั่นในการตัดสินถูกผิดต่อรายการ ก็เกินจำนวนรายการที่ตนอ้างว่าตัดสินถูก[13]คำอธิบายอย่างหนึ่งก็คือ ความเชื่อมั่นในการตัดสินถูกผิดต่อรายการเกินจริงก็เพราะปรากฏการณ์ความเที่ยงเกินจริง แต่การตัดสินใจทั่วไปไม่แสดงการประเมินเกินอย่างเป็นระบบ

ช่วงความเชื่อมั่น

หลักฐานที่ดีสุดของความเที่ยงเกินจริง มาจากงานศึกษาที่ให้ผู้ร่วมการทดลองชี้บ่งความแน่นอนของความรู้ของตน โดยกำหนดช่วงความเชื่อมั่น 90% สำหรับการประเมินค่าหนึ่ง ๆ โดยเฉพาะถ้ามนุษย์ปรับเทียบกับความจริงอย่างสมบูรณ์ ช่วงความเชื่อมั่น 90% ก็จะรวมค่าที่เป็นจริง 90% ทั้งหมด[14]แต่จริง ๆ แล้ว อัตราที่ถูกต้องบ่อยครั้งต่ำแค่ 50% ซึ่งแสดงว่า มนุษย์แสดงช่วงความเชื่อมั่นแคบเกินไป ซึ่งก็แสดงว่า มนุษย์คิดว่า ความรู้ของตน ๆ แม่นยำเกินความเป็นจริง

การเทียบฐานะเกิน (overplacement)

การเทียบฐานะเกินอาจเป็นอาการปรากฏเด่นที่สุดของปรากฏการณ์มั่นใจมากเกินไปเป็นการเปรียบการกระทำ/ฐานะของตนเองเทียบกับผู้อื่นซึ่งเกิดเมื่อมนุษย์เชื่อว่าตนดีกว่าคนอื่น หรือ "ดีกว่าคนอื่นโดยเฉลี่ย"[2]มันเป็นการจัดหรือให้คะแนนว่าตนดีกว่า/เก่งกว่าคนอื่น เป็นสิ่งที่เกิดบ่อยกว่าในงานง่าย ๆ ที่เราเชื่อว่าทำสำเร็จได้ง่ายคำอธิบายสำหรับปรากฏการณ์นี้ก็คือมันช่วยให้รู้สึกดีกับตัวเองและช่วยรักษาความภูมิใจในตน

ปรากฏการณ์เหนือกว่าโดยเฉลี่ย

ดูบทความหลักที่: ความเหนือกว่าเทียม

ปรากฏการณ์เหนือกว่าโดยเฉลี่ยที่ดังสุดอาจเป็นงานปี 1981 ที่พบว่า ผู้ขับรถชาวอเมริกัน 93% ให้คะแนนตัวเองว่า ขับรถดีกว่าค่ามัธยฐาน[15]ปรากฏการณ์ที่โรงเรียนในเขตต่าง ๆ อ้างว่า นักเรียนของตนเรียนดีกว่านักเรียนโดยเฉลี่ยของประเทศได้เรียกว่า ปรากฏการณ์ทะเลสาบโวบีกอน (Lake Wobegon effect) ตามเมืองในนิยายที่ "หญิงทั้งหมดแข็งแรง ชายทุกคนรูปหล่อ และเด็กทั้งปวงเหนือกว่าเด็กธรรมดา"[16]การเทียบฐานะเกินก็พบในสถานการณ์อื่น ๆ มากมากหลายอย่างเช่นกัน[17]

แต่งานปี 1999 ก็ได้แสดงว่า ปรากฏการณ์นี้จำกัดอยู่ในสิ่งที่ทำง่าย ๆ ที่การทำสำเร็จเป็นเรื่องปกติและผู้ทำรู้สึกว่า ตนสามารถสำหรับงานที่ยาก ปรากฏการณ์จะกลับกันคือผู้ทำจะรู้สึกว่าทำได้แย่กว่าผู้อื่น[18]

การมองในแง่ดีโดยเปรียบเทียบ

ดูสารนิเทศเพิ่มเติมที่: ความเอนเอียงโดยการมองในแง่ดี

นักวิจัยบางท่านอ้างว่า มนุษย์คิดว่าสิ่งดี ๆ มีโอกาสเกิดแก่ตนเองมากกว่าคนอื่น เทียบกับสิ่งร้าย ๆ ที่มีโอกาสเกิดแก่ตนเองน้อยกว่าผู้อื่น[19]แต่นักวิจัยอื่น ๆ ก็ได้ชี้ว่า งานวิจัยที่ผ่าน ๆ มามักจะตรวจสอบผลดีที่เกิดทั่ว ๆ ไป (เช่น การมีบ้านเป็นของตนเอง) และผลร้ายที่มีน้อย (เช่น ถูกฟ้าผ่า)[20][21][22]คือ ความเกิดบ่อยของเหตุการณ์เป็นตัวอธิบายสิ่งที่ค้นพบในงานก่อน ๆ เกี่ยวกับการมองในแง่ดีโดยเปรียบเทียบมนุษย์คิดว่าเหตุการณ์ที่สามัญ (เช่น จะมีอายุเกิน 70 ปี) มีโอกาสเกิดแก่ตนมากกว่าคนอื่น ๆ และเหตุการณ์ที่มีน้อย (เช่น จะมีอายุเกิน 100 ปี) มีโอกาสเกิดขึ้นแก่ตนเองน้อยกว่าคนอื่น

การแปลสิ่งเร้าผิดเชิงบวก

ดูสารนิเทศเพิ่มเติมที่: การแปลสิ่งเร้าผิดเชิงบวก

งานปี 1988 อ้างว่า มนุษย์ยึดติดกับความเชื่อในตนเองที่ดีเกินจริง แปลสิ่งเร้าผิดว่าควบคุมได้ และเชื่อความดี/ความเก่งกว่าที่ไม่เป็นจริง เพราะมันช่วยให้รับมือเหตุการณ์และก้าวหน้าในชีวิตได้[23]แม้จะมีหลักฐานว่าความเชื่อที่มองโลกในแง่ดีจะมีสหสัมพันธ์กับชีวิตที่ดีกว่า งานวิจัยโดยมากที่แสดงความสัมพันธ์เช่นนี้ ก็สามารถอธิบายได้ในแง่อื่น ๆ ด้วย

ใกล้เคียง

ปรากฏการณ์เชื่อมั่นมากเกินไป ปรากฏการณ์เรือนกระจก ปรากฏการณ์ขบวนแห่ ปรากฏการณ์แม็คเกอร์ก ปรากฏการณ์ 2012 ปรากฏการณ์เกาะความร้อน ปรากฏการณ์การวางกรอบ ปรากฏการณ์ความจริงลวง ปรากฏการณ์ฟอเรอร์ ปรากฏการณ์ตัวล่อ

แหล่งที่มา

WikiPedia: ปรากฏการณ์เชื่อมั่นมากเกินไป http://www.nytimes.com/2011/10/23/magazine/dont-bl... http://seedmagazine.com/content/article/on_overcon... http://repository.cmu.edu/cgi/viewcontent.cgi?arti... http://leeds-faculty.colorado.edu/mcgrawp/pdf/mcgr... http://faculty.fortlewis.edu/burke_b/Senior/BLINK%... http://public.psych.iastate.edu/zkrizan/pdf/krizan... http://eric.ed.gov/?id=ED314454 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/10474208 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/12224810 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/13681411